วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

องค์ประกอบของระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ ( Cloud Computing )


ระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญคือ

·        อินเตอร์เน็ตที่มีช่องสัญญาณสูงจนเกือบจะไม่มีจำกัด (Nearly unlimited bandwidth)

·        เทคโนโลยีระบบเสมือนจริง (Increasingly sophisticated virtualization technologies)

·        สถาปัตยกรรมเครือข่ายที่รองรับการเข้าถึงพร้อมกันจำนวนมาก
         (Multitenant Architectures)

·        ลักษณะการใช้งานได้ของเซิรฟ์เวอร์ประสิทธิภาพสูง
         (Availability of extremely powerful servers)



ระบบปฏิบัติการกลุ่มเมฆประกอบด้วยบริการที่สำคัญ 3 ส่วนคือโครงสร้างพื้นฐาน แพลทฟอร์ม และแอพพลิเคชั่น

โครงสร้างพื้นฐานกลุ่มเมฆ (Cloud Infrastructure)

ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน เป็นระดับเริ่มต้นของสภาพแวดล้อมระบบประมวลผลกลุ่มเมฆในลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine) ให้บริการด้านการจัดสมดุลย์ปริมาณงาน (Load-balancing) และพื้นที่จัดเก็บข้อมูล (Storage) รองรับแพลทฟอร์มกลุ่มเมฆ และแอพพลิเคชั่นกลุ่มเมฆ  ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานสามารถปรับเปลี่ยนคุณสมบัติ  บริการ และควบคุมระบบประมวลผลกลุ่มเมฆได้สูงสุด  โดยเป็นผู้ให้บริการระดับควบคุมทั้งหมดของโครงสร้างเซิร์ฟเวอร์ ตัวอย่างผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานเช่น Amazon's EC2 GoGrid  RightScale Linode

แพลทฟอร์มกลุ่มเมฆ (Cloud Platform)

ผู้ให้บริการแพลทฟอร์มจะกำหนดมาตรฐานของแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้พัฒนา แต่แพลทฟอร์มจำเป็นต้องขึ้นกับลักษณะของโครงสร้างพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน ตัวอย่างผู้ใหบริการแพลทฟอร์มกลุ่มเมฆเช่น Google App Engine Heroku Mosso Engine Yard Joyent force.com(Saleforce platform)

แอพพลิเคชั่นกลุ่มเมฆ (Cloud Application)

การให้บริการซอฟต์แวร์บนเครือข่ายในลักษณะ SAAS (Software As A Service) โดยรูปแบบให้บริการเป็นลักษณะ Virtualization  กล่าวคือเป็นเว็บแอพพลิเคชั่น มีส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (User interface) บนหน้าเว็บเบราว์เซอร์ โดยแยกส่วนโปรแกรมและส่วนประมวลผลอยู่บนเครือข่าย ผู้ใช้จึงไม่จำเป็นต้องติดตั้งแอพพลิเคชั่นในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นบริการ Hotmail Gmail Quicken Online Google Doc. SalesForce Online banking service

มาตรฐานของระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ

ระบบประมวลผลกลุ่มเมฆใช้มาตรฐานแบบเปิด (open standard) เช่น  Browsers (Ajax) Communications (HTTP, XMPP)  Data (XML,JSON) Offline (HTML5) Management (OVF) Security (OAuth, OpenID, TLS) Solution stacks (LAMP) Syndication (Atom) Web Service (REST)




คุณลักษณะของระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ ( Cloud Computing )





ลดค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนในระบบไอที
โดยผู้ให้บริการจะเป็นผู้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของระบบไอทีทั้งหมดและผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องลงทุนติดตั้งหรือซื้อไลเซนส์ (License) ของซอฟต์แวร์ที่มีราคาสูง อีกทั้งยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายแก่องค์กรอีกต่างหาก

เพิ่มความสามารถในการแบ่งปันทรัพยากรแบบ Multitenancy
เพิ่มความสามารถในการรองรับช่วงเวลาทำงานหนัก (Peak-load capacity)  รวมทั้งช่วยปรับปรุงประโยชน์ใช้สอยและประสิทธิภาพ (Utilization and efficiency) ของทรัพยากรไอที

ความสามารถในการปรับเปลี่ยนขนาด (Scalability)
สามารถเลือกใช้ทรัพยากรได้อย่างยืดหยุ่นตามความต้องการใช้งานจริงในแต่ละช่วงเวลา

ความเชื่อถือได้ (Reliability)
ระบบมีมาตรการป้องกันระบบล่ม เพื่อให้ระบบพร้อมให้บริการตลอดเวลา (Redundant) 24 ชั่วโมง

ความปลอดภัย (Security)
สำหรับข้อมูลและทรัพยากรของระบบ ได้จัดให้มีมาตรการป้องกันความปลอดภัย ทำให้บุคคลอื่นไม่สามารถเข้ามาดูหรือเอาข้อมูลของเราไปได้ อย่างไรก็ตามยังมีความกังวลเกี่ยวกับการสูญเสียความสามารถในการกำกับดูแลการเข้าถึงและความปลอดภัยของข้อมูลอ่อนไหว

ประสิทธิภาพ (Performance)
ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของอินเทอร์เน็ตว่าจะสามารถกำกับดูแลและมีความเสถียรได้ตลอดเวลาหรือไม่ แต่อาจได้รับผลกระทบจากการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรือช่วงเวลาที่มีการใช้งานพร้อมกันจำนวนมาก เพราะอาจจะช้าลง

อุปกรณ์และสถานที่ตั้งไม่ขึ้นต่อกัน (Device and location independence)
ผู้ใช้สามารถเข้าถึงระบบได้จากทุกที่ ทุกเวลา ไม่จำกัด เพียงแค่มีอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อและอินเทอร์เน็ตก็สามารถทำงานได้จากทุกๆ ที่และทุกๆ เวลา

Cloud Computing คือ ?


Cloud Computing : ระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ

ระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ หรือ คลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) คือ การนำทรัพยากรของระบบไอที ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดแวร์ (Hardware) หรือซอฟต์แวร์ (Software) มาแบ่งปันในรูปแบบการให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ssas : Software As A Services) โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์สรรถนะสูงหรือติดตั้งซอฟต์แวร์ระบบใดๆ ที่ยุ่งยากซับซ้อน เพียงแค่ขอใช้บริการจากผู้ให้บริการระบบประมวลผลกลุ่มเมฆทั่วๆ ไปและชำระค่าบริการตามอัตราการใช้งานจริงแก่ผู้ให้บริการเท่านั้นก็เพียงพอ ซึ่งระบบประมวลผลกลุ่มเมฆนี้เป็นแนวคิดสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ในยุคหน้า โดยสามารถลดภาระการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับภาคองค์กรธุรกิจหรือส่วนบุคคลในสภาวะจริงของระบบประมวลผลกลุ่มเมฆนั้น ผู้ใช้มีเพียงอุปกรณ์ (Device) ที่สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ พีดีเอ ก็จะสามารถใช้บริการจากผู้ให้บริการผ่านเซิร์ฟเวอร์หลายเครื่องบนเครือข่าย ในรูปแบบการประมวลผลแบบกระจาย (Distributed Computing) ซึ่งนับว่าสะดวกสบายไม่จำเป็นต้องพกพาให้มากมายและที่สำคัญคือประหยัดโดยในปัจจุบัน องค์กรสามารถใช้ Cloud Technology ได้ 2-3 รูปแบบ (SaaS, IaaS, PaaS) อธิบายแบบง่ายๆ คือ


รูปแบบที่ 1 (Software as a Service, SaaS): จากรูปด้านล่างผู้ใช้สามารถเข้าถึง
แอพพลิเคชั่นและข้อมูลองค์กรได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้ Business Software บน Cloud Technologyได้ทันที เช่น ใช้ Email Application, ระบบ File Sharing/Content Management, ระบบ CRM Application สำหรับ Sales และ Customer Support เป็นต้น โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจเลยว่า Application นี้ทำงานอยู่ที่ไหน เก็บข้อมูลอย่างไร ผู้ใช้สามารถเรียกใช้งานได้ตลอด ทุกที่ ทุกเวลา ที่สามารถเข้าถึง Internet ได้


Software as a Service (SaaS): ผู้ใช้สามารถใช้บริการ Application ได้ทุกที่ ทุกเวลา ที่มี Internet

รูปแบบที่ 2 (Infrastructure as a Service, IaaS): สะดวก
ยืดหยุ่นและ ง่ายต่อการบริหารทรัพยากร IT ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ Virtual Server/ Virtual Machine บน Cloud Technology ได้ทันที ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการเครื่อง Server ที่มี 4 CPUs, 32GB Memory, 10TB Storage สามารถเรียกขึ้นมาใช้ได้ทันที จาก Cloud Technology เช่นเดียวกันกับรูปแบบที่ 1 ที่ผู้ใช้ไม่ต้องสนใจเลยว่า Virtual Server หรือ Virtual PC/Desktop ที่ได้มานั้น ตั้งอยู่ที่ไหนมาได้อย่างไร สามารถเรียกใช้หรือคืนได้ทันทีเมื่อใช้เสร็จ



Infrastructure as a Service (IaaS): ผู้ใช้สามารถเรียก Computing Resource เช่น Server, PC Desktop ขึ้นมาใช้ได้ทันทีจาก Cloud Technology ไม่ต้องเสียเวลาไปรอสั่งซื้อเครื่อง แล้วรอเครื่องมาส่งกว่าจะได้ใช้งาน

Cloud Technology รูปแบบที่ 3 (Platform as a Service, PaaS): เป็นรูปแบบที่กำลังจะมีความสำคัญมากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ของเพื่อให้ นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่อาศัยคุณสมบัติข้อดีของCloudได้อย่างดีเยี่ยม รูปแบบนี้ อาจจะอธิบายได้ยากและซับซ้อนมากขึ้นกว่า 2 รูปแบบแรก ซึ่งผู้ใช้ Cloud ในรูปแบบนี้จะเป็นกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developer) ที่ต้องการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานบนCloud และให้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นนั้นใช้คุณสมบัติต่างๆของ Cloud ที่จะไม่สามารถหาได้จากสภาวะปกติ (Non-cloud computing) เช่น ความสามารถในการขยาย Computing Resource (CPU/Memory) เมื่อต้องใช้ประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก หรือ หด Computing Resource เมื่อใช้ประมวลผลข้อมูลจำนวนไม่มาก เป็นต้น โดยเป็นรูปแบบการใช้ Cloud Technology ที่กำลังจะเป็นที่นิยมมากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ไม่น่าเกินปี 2015


Platform as a Service (PaaS): นักพัฒนา Software สามารถเรียกใช้ความสามารถหรือบริการต่างๆ ของ Cloud เพื่อนำมาประกอบกันเป็น Application ที่ยืดหยุ่น รองรับความสามารถที่หลากหลาย และ จำนวนผู้ใช้ที่มาก หรือ น้อยได้โดยอัตโนมัติ