วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555


ตัวอย่าง Commercial Cloud Formation









Amazon Web Services : Elastic Compute Cloud (EC2)
เป็น Utility Computing (UC) คือ ให้บริการทรัพยากรที่ใช้ในการประมวลผล เช่น CPU hour,memory ,network รวมทั้ง Platefotm ที่สามารถให้บริการในการ Run Software ตามความต้องการใช้บริการ เป็นแนวคิดในการให้บริการตามที่คิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริง ด้วยการให้บริการด้าน SaaS , การวิเคราะห์และการประมวลผลแบบ Batch Processing
ประโยชน์ของ Utility Computing (UC)
1. ประโยชน์กับผู้ใช้บริการ ได้แก่ การลดต้นทุน
2. ประโยชน์กับผู้ให้บริการ ได้แก่ สร้างรายได้ เพราะการให้บริการที่แตกต่างกัน ด้วยคุณภาพและมีความเชี่ยวชาญกว่า

ความสามารถของ  Amazon EC2 

Amazon EC2

เปิดตัวครั้งแรกในปี 2006
ใช้แนวคิดในเรื่องของ Simple Storage Service(S3)
ซึ่งเป็น Elastic Compute Cloud(EC2)
การคำนวณบน virtual parallel clusters และdestroy on demand.
base on Linux and Xen
มีความหลากหลายของ O/S images ซึ่งAmazon Machine Images (AMIs)
การประมวลผลแบบขนานด้วยเทคโนโลยีการคำนวณขั้นสูง(High-Performance Computing - HPC) –
o โดยจะคำนวณแบบ Batch processing oriented queue based systems.

Characteristics Amazon EC2
Ø Elastic : สามารถเพิ่ม/ลด ความจุได้ภายในเวลาที่รวดเร็ว และสามารถทำการ monitor controll ผ่านทาง EC2 APIs
Ø ทำการควบคุมได้อย่างสมบูรณ์แบบ
Ø สามารถเลือกใช้ OS ได้ตามที่ลูกค้าใช้อยู่แล้วได้เลย
Ø สามารถเลือก Software Package ได้ เช่น Redhat,Ubuntu,openSuse,Windows Server 2003
Ø ระบบ Amazon datacenter มีความน่าเชื่อถือสูงมากๆ
Ø ระบบ Secure ใช้ web interface ในการ configure firewall

ปัจจุบัน EC2 ยังคงไม่หยุดนิ่ง โดยทำการศึกษาวิจัยในเรื่องสำคัญต่อไป ดังนี้
ü EC2 Instance
ü Test with standard HPC benchmarks : I/O performance
ü MPI on EC2
ü Application demonstration
ü Optimized Compiler
ü Queuing System
ü Input/Output and Filessystems
ü Security Issues
ü Interactive Usage with an HPC code


Eucalyptus

Eu




เป็นชื่อย่อจากคำว่า Elastic Utility Computing Architecture Linking Your Programs To Useful Systems

เป็น Open-Source Software ที่ให้บริการบน Web services base สำหรับ Implement Elastic/Utility/Cloud Computing infrastructure โดยใช้หลักการกระจายโหลดบนคลัสเตอร์เพื่อประหยัดพลังงาน โดยที่จะมีส่วนที่ใช้ Interface-compatible กับ Amazon.com’s EC2 นอกจากนี้แล้ว

Eucalyptus ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถใช้บน Linux แล้วทำให้เกิด Web base service ที่มีความง่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษา

จุดประสงค์ของ calyptus คือ ทำการสำรวจวิจัยหรือพัฒนา Elastic/Utility/Cloud service ให้ สามารถ Implement เทคโนโลยี เช่น การจองพื้นที่ทรัพยากร การตกลงทำสัญญาการให้บริการในระดับต่าง ๆ โดยการใช้กลไก หรือเงื่อนไขข้อตกลง และการใช้แบบจำลองต่าง ๆ
ปัจจุบันจะประกอบด้วย
o Interface ที่สามารถใช้งานร่วมกันของ EC2 และ S3
o ขั้นตอนในการติดตั้งง่าย
o สนับสนุนการทำงานบน Linux
o ใช้ระบบรักษาความปลอดภัย ของ SOAD with WS-Security
o ใช้ Cloud Administrator tools สำหรับการจัดการกับ user accounting
o สามารถทำการแก้ไขค่าต่าง ๆ ได้ ด้วย private internal network address บน Single Cloud
Eucalyptus Architecture 



o เป็น Public Cloud
o ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่จำกัดเวลาในการเข้าถึงจากการติดตั้งโปรแกรม

Eucalyptus Architecture ประกอบด้วย 3 ส่วน
1. Eucalyptus-nc : 
การทำงานในส่วน front-end services(Cloud Controller) ที่รู้จักกันคือ Walrus storage system.
2. Eucalyptus-cc : 
มี Cluster Controller ที่ไว้ support virtual network overlay

3. Cluster Controller
มี Node Controller สำหรับการติดต่อกับ KVM(Kernel-base Virtual Machine) เพื่อจัดการกับ VMs







แนวโน้มการใช้งาน Cloud Computing


ในอนาคต cloud computing จะเข้ามามีบทบาทสำคัญและก่อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการซอฟแวร์ไทย เพราะ cloud computing เหมาะแก่แอปพริเคชั่นพื้นฐานที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก และยังช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ เพราะไม่ต้องลงทุนสร้างเครือข่าย และสามารถพัฒนาซอฟแวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใครๆก็สามารถตั้งตนเป็นผู้ให้บริการ Cloud Computing ได้ ขอเพียงแต่สามารถลงทุนเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน และมีซอฟต์แวร์และระบบบริหารจัดการทรัพยากรคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งสามารถจัดหาวงจรอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อเชื่อมต่อไปโครงข่าย Cloud Computing เข้าด้วยกัน


1) แนวโน้มการใช้งานเว็บ 2.0
เนื่องจากเทคโนโลยีเว็บ 2.0 ไฟล์ต่างๆบนเว็บจะถูกเปลี่ยนแปลงโดยผู้ใช้ทั่วโลกอยู่ตลอดเวลา cloud computing จึงเข้ามามีบทบาท

2) ความต้องการประสิทธิภาพทางด้านการประหยัดพลังงาน
เนื่องจากปัจจุบันองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆหันมาให้ความสำคัญกับการประหยัดพลังงาน ซึ่ง cloud computing สามารถมาช่วยลดการใช้พลังงานเพราะสามารถลดหรือขยายขนาดได้ตามต้องการ โดยไม่ต้องทำการเปิดเครื่องทิ้งไว้

3) แนวโน้มความต้องการนวัตกรรมต่างๆในทางธุรกิจ
ปัจจุบันบริษัทต่างๆ มีการคิดค้นและนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ทำให้ cloud computing ซึ่งประมวลผลอย่างมีประสิทธิภาพ แต่เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า เข้ามามีความสำคัญ

4) ความต้องการความสะดวกสบายและง่ายในการใช้งานเทคโนโลยี
เทคโนโลยียิ่งมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น ผู้ใช้งานยิ่งต้องการให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น ดังนั้น cloud computing ซึ่งสามารถช่วยขจัดความยุ่งยากต่างๆเข้ามามีความสำคัญ

5) ปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา
เนื่องจากปัจจุบัน ข้อมูลมีการอัพเดทอยู่ตลอดเวลา ทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ด้วยความสามารถของ cloud computing ที่สามารถขยายได้อย่างไม่จำกัด เข้ามามีความสำคัญ



ความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ Cloud Computing

ทางบริษัท Gartner ได้ให้คำแนะนำว่าเทคโนโลยีดังกล่าวก็มีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบความมั่นคงปลอดภัย โดยบริษัท Gartner ได้แนะนำว่าควรมีการตรวจประเมินความมั่นคงปลอดภัยของการใช้บริการประเภทดังกล่าวก่อน โดยได้ให้ข้อมูลเบื้องต้นในสิ่งที่ต้องพึงระวังในแง่ของความมั่งคงปลอดภัยในการใช้งานระบบ Could Computing ดังต่อไปนี้


1) การเข้าถึงของผู้ใช้งาน ให้ตรวจสอบว่าผู้ให้บริการประมวลผลแบบก้อนเมฆนั้นมีกระบวนการอย่างไรในการควบคุมผู้บริหารจัดการดูแลระบบซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญ ๆ ในระบบ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลสามารถเข้าถึงข้อมูลได้

2) การดำเนินการตามมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัย ควรเลือกใช้บริษัทที่ให้บริการประมวลผลแบบก้อนเมฆที่มีการทำการตรวจประเมินโดยผู้ตรวจประเมินจากภายนอกและมีการผ่านกระบวนการรับรองมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัย

3) ตำแหน่งของข้อมูล เนื่องจากในระบบการประมวลผลแบบ้ก้อนเมฆนั้น ข้อมูลสารสนเทศ จะสามารถถูกเก็บไว้ ณ ที่ใดก็ได้ ซึ่งบริษัทผู้ใช้บริการควรทราบว่าข้อมูลของบริษัทมีการเก็บรักษาไว้ที่ใด และผู้ให้บริการก็ควรจะยึดหลักของกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของความเป็นส่วนตัวในแต่ละพื้นที่ด้วย

4) การแยกแยะกลุ่มข้อมูล เนื่องจากข้อมูลในก้อนเมฆนั้นมีการบันทึกในสภาพแวดล้อมที่ใช้ร่วมกันหลายบริษัท แต่ละบริษัทควรที่จะสอบถามผู้ให้บริการว่ามีวิธีการอย่างไรในการแยกกลุ่มของข้อมูลและวิธีการใดในการสร้างความมั่นคงปลอดภัยแก่ข้อมูล การใช้งานเทคนิคการเข้ารหัสข้อมุลสามารถช่วยได้แต่ต้องมีการหลีกเลี่ยงปัญหาข้อมูลสูญหายเนื่องจากเทคนิคการเข้ารหัสด้วย

5) การเก็บกู้ข้อมูล ต้องมีการสอบถามว่าเมื่อมีข้อมูลสูญหายแล้วบริษัทผู้ให้บริการมีมาตรการอย่างไรในการเก็บกู้ข้อมูลเมื่อเกิดปัญหา หัวใจสำคัญคือความสามารถในการเก็บกู้ข้อมูลกลับคืนได้ 100% ให้ตรวจสอบว่ามีการบันทึกข้อมูลและโปรแกรมประยุกต์สำรองในหลาย ๆ สถานที่หรือไม่

6) การสนับสนุนในแง่ของความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งบริษัทผู้ให้บริการประมวลผลแบบก้อนเมฆ ควรที่จะให้บริการสอบสวนกิจกรรมที่ผิดกฏหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบันทึกข้อมูลการใช้งานระบบและข้อมูลสารสนเทศที่มีแนวโน้มที่จะกระจายยังเครื่องแม่ข่ายหลายเครื่องและศูนย์ข้อมูลหลาย ๆ แห่ง

7) ความต่อเนื่องของบริการ ผู้ใช้งานต้องมีการพิจารณาถึงความต่อเนื่องของการให้บริการ โดยเฉพาะความมั่นคงของผู้ให้บริการ จะเกิดอะไรขึ้นหากบริษัทที่ให้บริการข้อมูลต้องปิดกิจการไปหรือถูกซื้อไป มีมาตรการอย่างไรในการเรียกข้อมูลคืนกลับมายังบริษัท

หลีกเลี่ยงผู้ให้บริการประมวลผลแบบก้อนเมฆจากบริษัทผู้ให้บริการ ที่ไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดของความมั่นคงปลอดภัย การดำเนินการตามมาตรฐาน และความต้องการทางเทคนิคอื่น ๆ




บริการโครงสร้างพื้นฐานกลุ่มเมฆ (Cloud Infrastructure) คือ ผู้ให้บริการต้องนำอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ด้านการประมวลผลมาให้บริการผ่านเครือ ข่าย โดยสร้างโครงสร้างพื้นฐานสภาพแวดล้อมการทำงานเสมือนจริง โดยผู้ให้บริการที่ให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานกลุ่มเมฆที่รู้จักกัน อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน ได้แก่  Amazon Elastic Compute Cloud Skytap Sun Grid 
บริการแพลทฟอร์มกลุ่มเมฆ (Cloud Platform)
คือ มาตรฐานให้แก่ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น ตัวอย่างผู้ให้บริการแพลทฟอร์มกลุ่มเมฆ เช่น Google App Engine Heroku Mosso Engine Yard Joyent force.com(Saleforce platform)

บริการระบบกลุ่มเมฆ (Cloud Software System)
คือ บริการซอฟต์แวร์ระบบเพื่อรองรับการทำงานร่วมกันของเครื่องคอมพิวเตอร์บน เครือข่าย ในระดับกลุ่มเมฆ กับกลุ่มเมฆ และระดับผู้ใช้กับกลุ่มเมฆ ตัวอย่างบริการกลุ่มเมฆ เช่น Amazon Web Service Amazon Simple Queue Service Amazon Mechanical Turk

บริการจัดเก็บข้อมูลกลุ่มเมฆ (Cloud Storage)
คือ การนำความสามารถด้านหน่วยความจำไปให้บริการบนเครือข่าย รวมทั้งบริการด้านฐานข้อมูล (Database) โดยมีแนวคิดเหมือนการทำ Data Center เพื่อบริการงานทางด้านข้อมูลแก่ผุ้ใช้ โดยมีการคิดค่าบริการตามการใช้งานจริง ซึ่งตัวอย่างผู้ที่ให้บริการจัดเก็บข้อมูลกลุ่มเมฆ คือ Amazon Simple Storage Service Amazon SimpleDB Live Mesh Mobile Me

Private Cloud Computing คือ การให้บริการด้าน Cloud Computing ใน แบบความเป็นส่วนตัว โดยผู้ให้บริการต้องเก็บข้อมูลความลับของผู้ใช้บริการ ไปจนถึงกระบวนการจัดเก็บที่รัดกุม ซึ่งถ้าหากเกิดการรั่วไหลของข้อมูล ก็จะเกิดปัญหาด้านความน่าเชื่อถือของบริการ ซึ่งจะสามารถส่งผลกระทบต่อธุรกิจของผู้ใช้บริการ แนวคิด Private Cloud Computing เป็นรูปแบบลักษณะหนึ่งในประเภทของ Cloud Computing ซึ่งแตกต่างกับ Public Cloud เพราะเป็นการทำงานและให้บริการบน Computer Servers มีระบบเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ทำงานผ่านเครือข่าย Networks ที่เป็นของผู้ใช้ บริการ Cloud Service เอง หรือเปิดให้ใช้เฉพาะผู้ใช้บริการรายนั้นส่วนตัว จึงเรียกว่า Private Cloud โดยที่ผู้ใช้บริการเป็นผู้ควบคุมและจัดการระบบเอง ซึ่งผู้ให้บริการจะมีหน้าที่ติดตั้ง Setup และ Support เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้นเกี่ยวกับความปลอดภัยและความต้องการในเรื่องปรับแต่ง แก้ไขระบบของผู้ใช้บริการเมื่อองค์กรขนาดใหญ่หรือธุรกิจขนาดใหญ่ต่างมีความต้องการในเรื่อง การบริหารจัดการข้อมูลองค์กรและธุรกิจในจำนวนที่มากขึ้น และต้องการความมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งการบริหารจัดการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์จำพวกฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในการ ใช้งานที่ต่างแพลตฟอร์ม เวอร์ชั่น หรือซอฟต์แวร์ที่ซื้อจากบริษัทที่มีแฟลตฟอร์มในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่จำเป็น ต้องใช้ต่างกัน จะทำให้การบริหารจัดการองค์กรเป็นไปได้ Private Cloud จึงเป็นตัวช่วยในการแก้ปัญหาขั้นต้น ทำให้การบริหารจัดการหรือการขยายระบบเป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้นถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยีด้านนี้จะทำให้อะไรหลายอย่างดูง่ายขึ้น สำหรับองค์กรด้าน IT และ เป็นทางเลือกที่เพิ่มขึ้นมาสำหรับผู้ใช้บริการ Cloud ไม่ว่าจะเป็น Cloud Virtual Private Server Service ที่เราเรียกว่า เซิร์ฟเวอร์เสมือน จะเริ่มผุดขึ้นมาบ้างแล้วในธุรกิจ Hosting ในบ้านเราหลายเจ้า แต่ปัญหาของ Private Cloud, Public Cloud หรือ Hybrid Cloud (ลูกผสม) ก็ยังมีอยู่ สำหรับผู้ใช้บริการ Private Cloud หรือ Cloud Service ใดๆ หากได้ใช้บริการ Private Cloud ของ ผู้ให้บริการใดไปแล้วจะเกิดการบังคับผูกขาดกับผู้ให้บริการ และส่วนของผู้ให้บริการเองปัญหาที่ยังมีอยู่ ที่ผู้ใช้ปรับแต่งระบบอาจจะเกิดปัญหาในการเรียกใช้ ทรัพยากร และยังต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริการของตัวผู้ให้บริการเอง ซึ่งต้องใช้เวลานานหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับผู้ใช้อย่างเรา และผู้ให้โอกาสอย่างภาครัฐและเอกชน

ประโยชน์ของระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ

ทรัพยากรไอทีถูกใช้อย่างคุ้มค่า
เนื่องจากเป็นการแบ่งปัน (Share) ทรัพยากรทางด้านไอทีบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจึงเกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of scale) นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการปรับลด/ขยายขนาดของประสิทธิภาพของระบบประมวลผล ได้ตามลักษณะการใช้งานจริง ผู้ใช้บริการจึงไม่จำเป็นต้องลงทุนเพื่อติดตั้งระบบไอที แต่สามารถเรียกใช้ความสามารถจากผู้ให้บริการซึ่งก็จะเกิดการแข่งขันระหว่างผู้ให้บริการด้วยกันเองถึงประสิทธิภาพและสมรรถนะของแต่ละผู้ให้บริการโดยจะมีการแบ่งปันความสามารถดังกล่าวให้แก่ลูกค้าหลายรายจึงเกิดการใช้ ทรัพยากรอย่างเหมาะสม

ผู้ใช้มีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีได้มากขึ้น
โดยอัตราค่าบริการด้านไอทีผ่านสภาพแวดล้อมกลุ่มเมฆจะต่ำกว่าการลงทุนติดตั้งระบบไอทีเองทั้งหมด ดังนั้นผู้ใช้จึงมีโอกาสที่จะเข้าถึงเทคโนโลยีที่หลากหลายตลอดจนเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้มากกว่าในสภาพแวดล้อมแบบเดิมทั้งนี้ในกรณีที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ผู้ให้บริการมีความยืดหยุ่นที่จะนำเทคโนโลยีใหม่มาให้บริการบนสถาปัตยกรรม SOA (Service-oriented architecture)

ผู้พัฒนาเทคโนโลยีไอทีมีโอกาสให้นำผลงานออกสู่ตลาดได้มากขึ้น
บนสถาปัตยกรรมที่แยกเซิร์ฟเวอร์ในส่วนของแอพพลิเคชั่น ทำให้แอพพลิเคชั่นบนเครือข่ายมีความยืดหยุ่นสูงสามารถปรับเปลี่ยนบนเครือข่าย ผู้ให้บริการจะกำหนดแพลทฟอร์มของแอพพลิเคชั่นบนกลุ่มเมฆของตน

ผู้ให้บริการสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
บริการถูกนำเสนอบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ดังนั้น ผู้ให้บริการสามารถติดตั้งอุปกรณ์ในทำเลที่ตั้งที่ห่างไกลซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าการตั้งกิจการในย่านธุรกิจแต่สามารถนำเสนอบริการให้แก่ลูกค้าได้ทั่วโลกอีกทั้งหน่วยจัดเก็บข้อมูล ส่วนประมวลผลและแอพพลิเคชั่นถูกแยกออกจากส่วนผู้ใช้ดังนั้นผู้ให้บริการจึงสามารถดูแลรักษาระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อจำกัดของระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ
แม้ว่าหลักการของระบบประมวลผลกลุ่มเมฆจะมีประโยชน์ต่อภาพรวมทั้งส่วนของผู้ใช้ ผู้พัฒนาและผู้ให้บริการ แต่ยังคงมีข้อจำกัดบางประการที่มีผลต่อการให้บริการบนสภาพแวดล้อมกลุ่มเมฆ

ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว
เมื่อข้อมูลและแอพพลิเคชั่นถูกส่งไปยังกลุ่มเมฆผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อีกทั้งสภาพแวดล้อมที่กระบวนการทำงานต้องอาศัยความสามารถของกลุ่มเมฆเซิร์ฟเวอร์หลายกลุ่มบนเครือข่าย องค์กรธุรกิจและผู้ใช้ระดับบุคคลอาจไม่มั่นใจและมีความกังวลเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 

ไม่มีมาตรฐานของแพลทฟอร์ม 
ผู้ให้บริการกลุ่มเมฆมีมาตรฐานแพลทฟอร์มที่แตกต่างกัน โดยอะเมซอน เว็บ เซอร์วิส เป็นแบบซอฟต์แวร์ฟรีโปรแกรม (Linux, Apache, MySQL, Perl/PHP : LAMP) ขณะที่  Google App Engine เป็นแบบมาตรฐานเฉพาะผลิตภัณฑ์ (Proprietary Formats) และผู้ใช้วินโดว์มักจะใช้บริการจาก GoGrid ดังนั้นสำหรับผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น หากต้องการให้ผลงานครอบคลุมตลาดผู้ใช้หลาย ๆ กลุ่ม ก็ต้องพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนหลายแพลทฟอร์มซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยาก

ความเชื่อถือได้ (Reliability)
โอกาสที่บริการกลุ่มเมฆจะล่มหรือไม่สามารถให้บริการได้ในบางขณะจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อผู้ใช้ในระบบ 

คุณสมบัติด้านการเคลื่อนย้ายข้อมูล (Portability)
ตาม หลักการทำงานแบบแบ่งปันประสิทธิภาพของระบบไอทีบนกลุ่มเมฆหลาย ๆ กลุ่ม หมายถึงกระบวนการประมวลผลแต่ละชิ้นงานอาจเริ่มต้นและสิ้นสุดลงโดยผ่านการทำ งานบนกลุ่มเมฆ (เซิร์ฟเวอร์) มากกว่า 1 กลุ่ม ในขั้นตอนการเคลื่อนย้ายข้อมูลจากกลุ่มเมฆหนึ่งไปยังอีกกลุ่มเมฆหนึ่ง แม้จะเกิดความคุ้มค่าของการใช้ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์แต่อาจสิ้นเปลือง ทรัพยากรด้านการสื่อสาร (Bandwidth) บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในมูลค่าที่สูงกว่า



เซิร์ฟเวอร์ทางกายภาพ
ระบบประมวลกลุ่มเมฆให้บริการด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtualization) อย่าง ไรก็ตามในความเป็นจริงอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่เซิร์ฟเวอร์ทางกายภาพยัง คงมีอยู่จริง ซึ่งมีโอกาสที่ติดตั้งกระจายอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วทุกมุมโลก ประเด็น ที่ยังคงเป็นกังวลคือข้อมูลทางธุรกิจและข้อมูลที่มีผลต่อความมั่นคงของประเทศ อาจถูกจัดเก็บบนเซิร์ฟเวอร์ในประเทศอื่น และมีความเสี่ยงที่รัฐบาล หรือทางการ ตลอดจนภาคเอกชนของประเทศที่เป็นที่ตั้งของเซิร์ฟเวอร์จะสามารถเข้าถึงข้อมูล เหล่านั้นได้


จุดเด่น ข้อดี - ข้อเสีย - ประโยชน์ ของการใช้บริการ  Cloud  Computing


  จุดเด่นของ Cloud Computing

1) Agility : มีความรวดเร็วในการใช้งาน

2) Cost : ค่าใช้จ่ายน้อย หรืออาจไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับ Client

3) Device and Location Independence : ใช้ได้ทุกที่แค่มีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต

4) Multi-Tenancy : แบ่งการใช้ทรัพยากรให้ผู้ใช้จำนวนมากได้

5) Reliability : มีความน่าเชื่อถือ

6) Scalability : มีความยืดหยุ่น

7) Security : มีความปลอดภัย

8) Sustainability : มีความมั่นคง



ข้อดีของ Cloud Computing

1) ลดต้นทุนค่าดูแลบำรุงรักษาเนื่องจากค่าบริการได้รวมค่าใช้จ่ายตามที่ใช้งาน จริง เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าซ่อมแซม ค่าลิขสิทธิ์ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าอัพเกรด และค่าเช่าคู่สาย เป็นต้น

2) ลดความเสี่ยงการเริ่มต้น หรือการทดลองโครงการ

3) สามารถลดหรือขยายได้ตามความต้องการ

4)ได้เครื่องแม่ข่ายที่มีประสิทธิภาพ มีระบบสำรองข้อมูลที่ดี มีเครือข่ายความเร็วสูง

5) อยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ


              ข้อเสียของ Cloud Computing

1) จากการที่มีทรัพยากรที่มาจากหลายแห่ง จึงอาจเกิดปัญหาด้านความต่อเนื่องและความรวดเร็ว

2) ยังไม่มีการรับประกันในการทำงานอย่างต่อเนื่องของระบบและความปลอดภัยของข้อมูล

3) แพลทฟอร์มยังไม่ได้มาตรฐาน  ทำให้ลูกค้ามีข้อจำกัดสำหรับตัวเลือกในการพัฒนาหรือติดตั้งระบบ site

4) เนื่อง จากเป็นการใช้ทรัพยากรที่มาจากหลายที่หลายแห่งทำให้อาจมีปัญหาในเรื่องของ ความต่อเนื่องและความเร็วในการเข้าทรัพยากรมากกว่าการใช้บริการHost ที่ Local หรืออยู่ภายในองค์การของเราเอง



ประโยชน์ของการใช้บริการ Cloud Computing

• ลด TCO (Total Cost of Ownership) จากการเช่าใช้ตามความต้องการ
• เพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการตลอดเวลาที่ต้องการ 
• ลดเวลาในการพัฒนาระบบและแอพพลิเคชั่น
• มีความยืดหยุ่นของระบบสูงและลดความสูญเสียจากความสามารถที่มากเกินความต้องการของระบบที่มีอยู่
• เพิ่มขีดความสามารถในการทำงานร่วมกันของทีมงานในองค์กร
• รับประกันความต่อเนื่องของการทำงานจากการขอเพิ่มบริการ disaster recovery
• การเช่าใช้ตามความต้องการ



Types of Clouds


1. Public Clouds




+ เป็นการบริการที่ไม่แพง เช่น มี free service over the internet, free Amazon Machine Images(AMIs) สำหรับนักพัฒนา หรือเพื่อ test โปรแกรม เพื่อการศึกษา

+ Implement base on ประสิทธิภาพการทำงาน , ระบบรักษาความปลอดภัย , ระบบการจัดเก็บข้อมูล data locality in mind

+ จากรูปเป็นการให้บริการกับหลาย ๆ ลูกค้า Public or External clouds,



2. Private clouds





+ เป็นการบริการที่มีเจ้าของเป็นผู้ให้บริการ support ลูกค้าของตนผ่านทาง Cloud Provider

+ Implement base ในเรื่องการควบข้อมูล , ระบบรักษาความปลอดภัย ,และคุณภาพของการบริการ

+ จากรูปเป็นการให้บริการกับลูกค้า ของตนเอง



3. Hybrid clouds




+ เป็นตัวผสมการทำงานระหว่าง Public Cloud และ Private Cloud

+ อนุญาตให้มีการ transferred ข้ามกันระหว่าง Application ของ Public Cloud และ Private Cloud เมื่อมีการร้องขอ

+ แสดงให้เห็นความซับซ้อนของDistribute Application across boths.

การประยุกต์ใช้ระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ 

ในปัจจุบันมีผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไอทีเปิดให้บริการแก่ผู้ใช้ไม่ว่าจะเป็นระดับองค์กรทั้งหลาย รวมไปถึงระดับบุคคลที่ต้องการประมวลผลข้อมูลของตน เช่น บริการแอพพลิเคชั่นกลุ่มเมฆ (Cloud Application) เป็นแอพพลิเคชั่นที่เปิดให้บริการบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้ง หรือรันแอพพลิเคชั่นที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่เป็นการใช้บริการรันแอพพลิเคชั่นผ่านเครือข่ายจึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ การดูแลในระดับปฏิบัติการ หรือระบบสนับสนุน ตัวอย่างเช่น Peer-to-peer/Volunteer Computing (Bittorent, SETI, Skype) Web application (Facebook) Software As A Service (Google Apps,Google Docs,Salesforce) Software plus services (Microsoft Online service) เช่น บริการแอพพลิเคชั่นด้านเอกสารของ Google Docs ที่ ให้บริการเวิร์ดโพรเซสซิ่ง สเปรดชีท และพรีเซนเทชั่น ผ่านเว็บไซต์โดยผู้ใช้สามารถสร้างเอกสาร แก้ไข จัดเก็บ และแบ่งปันให้กับผู้เกี่ยวข้องผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อีกทั้งยังสามารถให้คุณสมบัติให้ผู้อื่นร่วมแก้ไขไฟล์เอกสารบนเครือข่าย บริการงานด้าน on demand customer relationship management ของ Salesforce ที่ให้บริการโซลูชั่นด้าน CRM หลากหลายขนาดที่ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนขนาดความสามารถของโซลูชั่นได้ตามต้องการ ดังหน้าจอตัวอย่างการบริการ ดังนี้

บริการแอพพลิเคชั่นกลุ่มเมฆ (Cloud Application)

        เป็นแอพพลิเคชั่นที่เปิดให้บริการบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้ง หรือรันแอพพลิเคชั่นที่เครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เป็นการใช้บริการรันแอพพลิเคชั่นผ่านเครือข่ายจึงไม่ต้องมีภาระในการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ การดูแลในระดับปฏิบัติการ หรือระบบสนับสนุน ตัวอย่างเช่น Peer-to-peer/Volunteer Computing (Bittorent, SETI, Skype) , Web application (Facebook) , Software As A Service (Google Apps,Google Docs,Salesforce) , Software plus services (Microsoft Online service) ,

ระบบปฏิบัติการโฉมใหม่ Cloud OS




Google App Engine

        Google App Engine เป็นหมัดเด็ดของ Google ที่ออกมาเพื่อต่อกรกับ Amazon Web Services ของ Amazonโดยเฉพาะในขณะที่ AWS มีบริการให้ใช้คือ S3 (เก็บข้อมูล), EC2 (ประมวลผล) และ SimpleDB (ฐานข้อมูล) แต่ละบริการจะแยกออกจากกัน จะใช้ทั้งหมดหรือแค่ตัวใดตัวหนึ่งก็ได้ แต่สำหรับบริการของ Google App Engine จะต่างออกไป โดย Google จะให้บริการแบบครบวงจรกว่า แยกใช้งานแบบเป็นบริการเดี่ยวๆ ไม่ได้ บริการของ Google App Engine จะมีลักษณะเป็นการให้บริการ infrastructure ที่ระดับ high-level มากกว่า โดยสามารถรัน application ที่เขียนด้วยภาษา python เท่านั้น (ภาษาอื่นจะตามมาในอนาคต) ทาง Google จะมี SDK มาให้นักพัฒนาสามารถเขียนโปรแกรมทดสอบในเครื่องตัวเองได้ก่อน แล้วนำมา deploy ลงในระบบของ Google App Engine ทีหลังได้ โดยระบบเก็บข้อมูลจะใช้ GFS และใช้ฐานข้อมูล BigTable

Google App Engine ในช่วงแรกจะเปิดแบบ beta ให้นักพัฒนา 10,000 คนแรก และจำกัดการใช้งานไว้ที่เนื้อที่ 500 MB และ bandwidth ไม่เกิน 10 GB ต่อวัน หลังจากนั้นเมื่อเปิดเต็มตัวแล้วจะมีโมเดลเก็บเงินอีกครั้งหนึ่ง (ยังไม่กำหนดราคา) ในช่วงปี 2005 ตอนนั้น Google ไปจ้าง Guido Van Rossum คนสร้างภาษา python เข้ามาทำงานด้วย เป็นข่าวฮือฮาอยู่พักนึงว่า Google จะจ้างเอาไปทำอะไร แต่เจ้าตัวก็ติด NDA พูดอะไรมากไม่ได้ สุดท้ายเวลาผ่านไป 3 ปีก็ได้ Google App Engine ออกมาให้ได้ลองใช้กัน





ฮาร์แวร์กลุ่มเมฆ (Cloud Hardware)

อุปกรณ์ ที่กล่าวถึงไม่สามารถทำงานประมวลผลได้ด้วยตนเอง แต่มีหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้งานโดยรับคำสั่งเพื่อสื่อสารกับบริการต่างๆ บนระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ และต้องอาศัยทรัพยากรไอทีบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการประมวลผล
ยกตัวอย่างเช่น เชอร์รี่พาว ซี 100  เป็นบริการคอมพิวเตอร์กลุ่มเมฆสำหรับผู้ใช้ระดับบุคคล ประกอบด้วยส่วนเชอร์รี่พาว เดสก์ท็อป (ซี100) และบริการเชอร์รี่พาว คลาวด์ (CherryPal Cloud) มีขนาดเล็ก 5.8" x 4.2" x 1.5" น้ำหนัก 10 ออนซ์ ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยกว่าเครื่องเดสท้อปทั่วไปประมาณ 80% 


เชอร์รี่พาว ซี 100

คุณสมบัติของเชอรรี่พาว เดสก์ท็อป ซี 100
·        Freescale's MPC5121e mobileGT processor
·        800 MPS(400 MHz)
·        256 MB of DDR2 DRAM
·        4GB NAND Flash-Based solid state drive
·        WiFi 802.11 b/g Wi-Fi
·        Two USB 2.0 ports
·        One 10/100 Ethernet with RJ-45 jack
·        One VGA DB-15 display out jack
·        Headphone level stereo audio out 3.5mm jack
·        9vDC 2.5mm 10 watt AC-DC adapter power supply



บริการเชอร์รี่พาวคลาวด์
·        บริการหน่วยความจำพื้นที่ขนาด 50GB
·        ส่วนติดต่อผู้ใช้ Cherrypalcloud interface
·        บริการอัพเดทซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส
·        บริการแอพพลิเคชั่น iTunes OpenOffice  instant messenger  และ media player